ภาพกิจกรรมการพัฒนา

ผศ.ประชิด ทิณบุตร,อ.ณรงค์ชัย พิพิธพัฒนาปราปต์ ทีมที่ปรึกษาและวิทยากร บจก.เอซีทีอินเทลลิเจ้นท์ คุณชัยวุฒิ วงศ์วรกุล (ผจก.โรงพิมพ์) และคุณอภิมุข วงศ์วรกุล (Account Executive) เข้าร่วมพิจารณาคัดเลือกต้นแบบผลงานออกแบบ(Design Focus Group) เพื่อการตัดสินใจนำไปใช้งาน ( Design Decision Making ) ให้ถูกต้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และงบประมาณที่จะสามารถสนับสนุนได้จริงสำหรับสินค้าโอทอปของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีการตรวจสอบความถูกต้องของอาร์ตเวิร์คงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ (Artwork Approval) เป็นครั้งสุดท้าย ร่วมกับทางโรงพิมพ์อักษรอาร์ต จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนเข้าสู่ระบบการพิมพ์ที่เหมาะสมจริง ในขั้นตอนของการถ่ายเพลตแยกสี เพื่อการตรวจสอบแม่พิมพ์ การพิมพ์ทดสอบก่อนพิมพ์ ในขั้นตอนต่อไป ซึ่งผลการพิจารณาสนันสนุนงบประมาณการพิมพ์ด้วยระบบออฟเซทในส่วนที่ทีมงานของผศ.ประชิด ทิณบุตร รับผิดชอบ มีเพียง 8 ราย ดังปรากฏในภาพอัลบั้ม ส่วนอีก 3 ราย ไม่สามารถสนับสนุนการพิมพ์ให้ได้ เนื่องจากมีงบประมาณไม่เพียงพอ. : วันที่ 6 กันยายน 2555 13.00-17.00 น.


Action Gallery : ภาพกิจกรรมการดำเนินงานทีมวิทยากรที่ปรึกษาของบริษัท เอซีที อินเทลลิเจ้นท์ จำกัด
ชุดที่ 1 โดยทีมงาน ผศ.ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัีฏจันทรเกษม กทม.
       การนำเสนอผลงานออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์โอทอป ต่อผู้ประกอบการในจังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 20 ในโครงการของบริษัท เอซีที ที่ปรึกษา ในโครงการของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี โดยทีมงานจากสาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม นำโดยผศ.ประชิด ทิณบุตรและนักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิชาเอกออกแบบนิเทศศิลป์ จำนวน 3 คน เป็นผู้ช่วยงานวิจัย งานศึกษา จัดเก็บข้อมูล วิเคราห์ข้อมูล และดำเนินงานการผลิตผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตามโจทย์และขั้นตอนปฏิบัติงานที่หลากหลาย ตามขั้นตอนการออกแบบวิจัยเชิงสร้างสรรค์(Creative Research) ด้วยวิธีสนทนากลุ่ม( Focus Group) และวิธีการมีส่วนร่วม(Participatory Research) การทำคลีนิกออกแบบ(Design Clinic/Design Consults and Work Shop) ในการวิเคราะห์-สรุปผลงานการออกแบบ และนำไปผลิตเป็นผลงานจริง
       สถานที่ดำเนเนินการ โรงแรมริเวอร์แคว เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555

ผศ.ประชิด ทิณบุตร ในฐานะหัวหน้าทีมวิทยากรที่ปรึกษาของบริษัท เอซีที อินเทลลิเจ้นท์ จำกัดและทีมงานการศึกษาวิจัย ออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้า เป็นวิทยากรฝึกอบรมความรู้เรื่อง แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอป ระดับ 5 ดาว ของจังหวัดกาญจนบุรี ในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการการส่งเสริมการผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP และการบริหารจัดการชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี จัดโดยบริษัท เอซีที อินเทลลิเจ้นท์ จำกัด เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ณ ห้องประชุมขุนแผน โรงแรมริเวอร์แคว จังหวัดกาญจนบุรี
คณะทีมงานที่ปรึกษาด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้า นำทีมโดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร อ.ฐปนนท์ อ่อนศรี อ.เกวรินทร์ พันทวี และนักศึกษาผู้ช่วยวิจัย นส.พลอยนภัส เรืองศิริโท นายอานนท์ ทองรอด และนายชานนท์ เกษมวรรณกร จากสาขาวิชาศิลปกรรม ร่วมกันปฏิบัติงานในโครงการการส่งเสริมการผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP และการบริหารจัดการชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  ตามแนวคิดเศรษฐกืจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจัดดำเนินการโดยบริษัท เอซีที อินเทลลิเจ้นท์ จำกัด ช่วงระหว่าง เดือน มิถุนายน -สิงหาคม 2555 โดยครัึ้งที่1 ระหว่างวันที่ 28-29 มิถุนายน 2555 เป็นขั้นตอนการเข้าสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ( Preliminary Study and Research)ในเขตอำเภอเมือง อำเภอท่าม่วง และ อำเภอพนมทวน เป็นขั้นการดำเนินการตามกระบวนการดำเนินงานวิจัย-ออกแบบ 3 ส. ในขั้นตอนของการสืบค้น(ส.1 สืบค้น : R1 : Reseach) เช่นการเยี่ยมชมกิจการ ระบบการผลิต การจัดจำหน่าย การขนส่ง การตลาด สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ จำนวน 11 ราย ผู้บริโภค เพื่อเป็นข้อมูลในการสรุปความต้องการในการออกแบบ(Design Briefs) พัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์โอทอปที่เป็นจริงประกอบในขั้นตอนการออกแบบ ในลำดับขั้นตอนต่อไป
     การสรุปข้อมูลความต้องการออกแบบเบื้องต้น ของผู้ประกอบการ 11 ราย ของทีมที่ปรึกษาศิลปกรรมจันทรเกษม ( 6 คน )

กิจกรรมการประชุมเชืงปฏิบัติการออกแบบ(Design Workshop) ของทีมงานที่ปรึกษา ขั้นตอน ส.1. การสืบค้นข้อมูล(Research) ทำ Visual Analysis ร่วมกัน วันที่ 10-11 กรกฎาคม  2555 เพื่อจัดทำสรุปผลความต้องการด้านการออกแบบ(Design Briefs) ของผู้ประกอบการโอทอป แต่ละราย ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กราฟิก 311/2 สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
 
 การเชื่อมโยงกิจกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชน กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณลักษณะอาชีพบัณฑิตในชั้นเรียนปกติ โดยทีมวิทยากรที่ปรึกษาได้นำเอาผลการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นไปใช้เป็นโจทย์-ปัญหาสำหรับการจัดกิจกรรมกลุ่มในรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ และวิชาศิลปนิพนธ์ เป็นกรณีศึกษาเพื่อการออกแบบสร้างสรรค์ โดยให้มีการนำเสนอผลงานกลุ่มด้วยโครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์โอทอป กาญจนบุรี ไปพร้อมกันเป็นกิจกรรมคู่ขนานโดยให้วิเคราะห์วิจารณ์ผลงานเดิมแล้วเสนอแนะปัญหาที่พบด้วยวิธี การวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะด้วยการมองเห็น Visual Analysis or Visual Inspection (Observation of the obvious, external features (usually without the aid of an instrument) to arrive at a general estimate. Also called visual inspection.(Businessdictionary,2012)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น